1.1 จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป
1.2 จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
1.3 พัฒนาหลักสูตร /จัดการเรียนการสอน
1.4 ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ
1.5 กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ
1.6 ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ
1.7 จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1.8 ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สร้างความสัมพันธ์
2.1 จัดทํานโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของ กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 2 ตลอดจนบริบทตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และตามแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0
2.2 จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
2.3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น
2.4 จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.5 ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
2.6 กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการและประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดําเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
2.7 ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บํารุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
2.8 จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
2.9 ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและสถาบันอื่นใน ชุมชน และท้องถิ่น
2.10 ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมายกำหนด
1. ด้านการบริหารงานวิชาการ มีภาระหน้าที่ 17 อย่าง ได้แก่
1.1 การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
1.2 การวางแผนงานด้านวิชาการ
1.3 การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
1.4 การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
1.5 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
1.6 การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
1.7 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
1.8 การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
1.9 การนิเทศการศึกษา
1.10 การแนะแนว
1.11 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
1.12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
1.13 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
1.14 การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
1.15 การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
1.16 การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
1.17 การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีภาระหน้าที่ 22 อย่าง ได้แก่
2.1 การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง
2.3 การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
2.4 การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
2.5 การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
2.6 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ
2.7 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ
2.8 การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.9 การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
2.10 การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2.11 การวางแผนพัสดุ
2.12 การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือ สิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานแล้วแต่กรณี
2.13 การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ
2.14 การจัดหาพัสดุ
2.15 การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2.16 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
2.17 การเบิกเงินจากคลัง
2.18 การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน
2.19 การนำเงินส่งคลัง
2.20 การจัดทำบัญชีการเงิน
2.21 การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
2.22 การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
3. ด้านการบริหารงานบุคคล มีภาระหน้าที่ 20 อย่าง ได้แก่
3.1 การวางแผนอัตรากำลัง
3.2 การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
3.4 การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.5 การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
3.6 การลาทุกประเภท
3.7 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.8 การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.9 การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
3.10 การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.11 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
3.12 การออกจากราชการ
3.13 การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
3.14 การจัดทำบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับ การเสนอขอ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
3.15 การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.16 การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ
3.17 การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.18 การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา
3.19 การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต
3.20 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการที่เกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
4. ด้านการบริหารงานทั่วไป มีภาระหน้าที่ 21 อย่าง ได้แก่
4.1 การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
4.2 การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
4.3 การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
4.4 งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
4.5 การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
4.6 การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
4.7 งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4.8 การดำเนินงานธุรการ
4.9 การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
4.10 การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
4.11 การรับนักเรียน
4.12 การเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา
4.13 การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
4.14 การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.15 การทัศนศึกษา
4.16 งานกิจการนักเรียน
4.17 การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
4.18 การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
4.19 งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (อปท.) การรายงานผล การปฏิบัติงาน
4.20 การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
4.21 แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
4. บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.1 อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1) จัดรูปแบบการศึกษา (มาตรา 15)
2) จัดกระบวนการศึกษา (มาตรา 24-30)
3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน (มาตรา 39)
4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา (มาตรา 40)
5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา (มาตรา 48-50)
6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ (มาตรา 59)
7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ (มาตรา 65-66)
4.2 อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา
2) บริหารกิจการสถานศึกษา
3) ประสานระดมทรัพยากร
4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา
5) จัดทำรายงานประจำปีต่อ กก.เขตพื้นที่
6) อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร
7) อื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ (ปฏิบัติราชการแทน) (มาตรา 44-45)
4.3 อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล (มาตรา 27(1))
2) พิจารณาความดีความชอบ (มาตรา 27(2))
3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร (มาตรา 27(3))
4) จัดทำมาตรฐานภาระงานครู (มาตรา 27(4))
5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครู (มาตรา 27(5))
6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก. มอบหมาย (มาตรา 27(6))
7) สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ (มาตรา 49)
8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร (มาตรา 53(4))
9) สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก (มาตรา 56) วรรคสอง
10) สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป (มาตรา 56) วรรคสอง
11) สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ (มาตรา 64)
12) สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) (มาตรา 68)
13) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู (มาตรา 73)
14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น (มาตรา 75)
15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ (มาตรา 78)
16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (มาตรา 79)
17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน (มาตรา 81)
18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด (มาตรา 82)
19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา (มาตรา 95 98)
20) อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก (มาตรา 108)
21) สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ (มาตรา110 (4))
22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ ประสิทธิภาพ จำคุก
4.4 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของ ผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
1) ผู้อำนวยการฯเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
2) นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
3) การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ.ข้าราชการครู และบุคลากรทางการ ศึกษา
4) ยุบ รวม เลิกล้ม โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่ ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตาม หลักเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
5) โรงเรียน มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่มีผู้อุทิศให้ แต่จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ กก.โรงเรียน ต้องเห็นชอบ รายงานสำนักงานเขตพื้นที่
6) โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อำนาจที่เลขา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบ หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ มอบตามหลักเกณฑ์ที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดยกเว้นเงินเดือน
7) จัดทำระบบการเงิน บัญชีตามระเบียบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานกำหนด และทรัพย์สินฯ ผู้อุทิศทำหลักฐานการรับบัญชีรับ-จ่ายฯรายงาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ตรวจสอบและรายงานเลขา คณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน โดยเร็ว
4.5 อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น
1) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. 2548
2) กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
3) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548
4) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
5) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547
6) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547
7) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547
8) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547
9) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547
10) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547
11) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547